Deprecated: mysql_connect(): The mysql extension is deprecated and will be removed in the future: use mysqli or PDO instead in /home/jitcharo/domains/jitcharoenhome.com/public_html/connect_db.inc.php on line 10
โภชนบำบัดในผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง

Deprecated: mysql_connect(): The mysql extension is deprecated and will be removed in the future: use mysqli or PDO instead in /home/jitcharo/domains/jitcharoenhome.com/public_html/connect_db.inc.php on line 10

โภชนบำบัดในผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง

Date: 2014-09-21 14:02:47    View : 4033
Image

      

โปรตีน

t bone steakอาหารที่มีโปรตีนต่ำจะช่วยชะลอความเสื่อมของไต เพราะไตไม่สามารถขจัดของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนที่มากเกินไปได้ เพราะหากของเสียเหล่านี้ตกค้างมากก็จะเกิดภาวะยูรีเมียซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต การได้รับโปรตีนต่ำ นอกจากจะช่วยไม่ให้ไตต้องทำงานหนักแล้ว ยังทำให้เกลือแร่อยู่ในภาวะสมดุลด้วย แต่ถ้าหากได้รับโปรตีนต่ำเกินไป ก็อาจะเสี่ยงต่อการที่ร่างกายขาดโปรตีนได้เช่นกัน ซึ่งถ้าเกิดภาวะขาดโปรตีน ร่างกายก็อยู่ในสภาพขาดอาหาร จึงผ่ายผอมไม่มีเรี่ยวแรง ภูมิต้านทางก็อ่อนแอจนเป็นเหตุให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเต้าหู้
ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังจึงควรได้รับการตรวจวัดระดับโปรตีนชนิดแอลบูมินในเลือดทุก 3-6 เดือน ซึ่งระดับที่เหมาะสมคือเท่ากับหรือมากกว่า 3.5 กรัม/เดซิลิตร
อาหารโปรตีนที่ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังควรได้รับต่อวันนั้นขึ้นกับระดับความเสื่อมของไต คือถ้าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4-5 ควรได้รับโปรตีน 0.6 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัมควรได้รับโปรตีน 30 กรัมต่อวัน แต่ถ้าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3  ควรได้รับโปรตีน 0.75 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้นคนที่มีน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัมก็ควรได้รับโปรตีน 37.5 กรัมต่อวัน เป็นต้นอย่างไรก็ตาม การควบคุมอาหารโปรตีนอย่างเดียวไม่พอ ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมความดันโลหิต การจำอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง และการควบคุมระดับความเป็นกรดด่างในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุลด้วยจึงจะได้ผลดี
อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังอาจมีการสูญเสียโปรตีนออกมาในปัสสาวะจำนวนมาก ดังนั้นอาหารโปรตีนที่จัดให้ต้องเป็นอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง คือ มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ โปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ เป็นต้น โปรตีนคุณภาพสูงนี้ควรได้รับอย่างน้อยร้อยละ 60 ของโปรตีนที่ได้รับทั้งหมด

 

คาร์โบไฮเดรต
ข้าวคาร์โบไฮเดรต คือ อาหารที่ให้พลังงาน ได้จากแป้งทั้งหลายและน้ำตาล การได้รับพลังงานที่เพียงพอมีความสำคัญมากในการป้องกันภาวะขาดอาหาร เพราะถ้าร่างกายได้รับอาหารประเภทให้พลังงานไม่เพียงพอ ร่างกายจะไปดึงเอาโปรตีนที่มีอย่างจำกัดมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทน ทำให้ไม่มีโปรตีนเพียงพอที่จะไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของอวัยวะต่างๆ ยิ่งถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตที่น้อยเกินไปติดต่อกัน ก็จะทำให้ขาดพลังงานนานๆ เข้าร่างกายก็จะไปย่อยสลายกล้ามเนื้อและไขมันที่สะสมเอาไว้เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงาน จนทำให้ร่างกายซูบผอมลง เป็นคนที่ขาดอาหารชัดเจน

ไขมัน
ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีความจำเป็นต้องควบคุมระดับไขมันในเลือด แม้ว่าภาวะไขมันในเลือดสูงจะมีผลต่อการเสื่อมของไต หรือไม่จะยังไม่ชัดเจนก็ตาม แต่ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอย่างมาก การควบคุมระดับไขมันในเลือดโดยวัดจากโคเลสเตอรอลร้ายคือ LDL (Low density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนาแน่นต่ำ
butter-home-1 ควรจะน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ถ้าเป็นเบาหวานหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่แล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมให้ LDL น้อยกว่า 70 มิลิกรัม/เดซิลิตรส่วนระดับของเคเลสเตอรอลดี คือ HDL (High density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนาแน่นสูง ในผู้ชายควรจะมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ส่วนผู้หญิงควรจะมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เพราะผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งจะทำให้ร่างกายมี HDL มากกว่าผู้ชายโดยธรรมชาติ
ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงไขมันชนิดอิ่มตัว เช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย มาร์การีน และเลือกรับประทานไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันงา ในกรณีที่ควบคุมอาหารแล้วไขมันยังสูงอยู่ อาจต้องใช้ยาลดไขมันมาช่วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้การใช้ยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์

โซเดียม

saltโซเดียมเป็นเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมความดันออสโมติก (Osmotic pressure) คือ แรงดันของของเหลวที่ไหลเข้าออกระหว่างภายนอกกับภายในเซลล์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อรักษาปริมาตรของน้ำนอกเซลล์และช่วยในการรักษาความเป็นกรดด่างของร่างกาย ช่วยในการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยในการนำกลูโคสและกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์
คนเราได้รับโซเดียมจากอาหารในรูปของโซเดียมคลอไรด์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็คือเกลือแกง เช่น เครื่องปรุงรสอาหารทั้งหลาย พวกน้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาร้า ฯลฯ และนอกจากนี้ ยังมีในอาหารอื่นอีก เช่น ในอาหารหมักดอง ผักกาดดอง มะม่วงดอง หัวไช้โป๊ ไข่เค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ ในอาหารธรรมชาติ ไข่ นม เนยแข็ง ฯลฯ หรือในอาหารอื่นๆ เครื่องดื่มน้ำอัดลม อาหารที่ใส่ผงชูรสหรือสารแต่งรส ผงฟู ฯลฯ เป็นต้น
โซเดียมส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมเข้าร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้ โซเดียมส่วนเกินจะถูกขจัดโดยไตผ่านออกมากับปัสสาวะ โดยมีฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ช่วยควบคุมรักษาระดับโซเดียมในร่างกายให้สมดุล เช่น ถ้าเรากินเค็มมากเกินไป จะทำให้รู้สึกกระหายน้ำ เพราะเราต้องการน้ำมาเจือจางเกลือในร่างกาย และไตก็จะช่วยขับออกมากับปัสสาวะ
เนื่องจากโซเดียมถูกดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหารโดยตลอดเช่นนี้ ถ้าเกิดความผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น มีอาการท้องเสียรุนแรง อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนรุนแรง เหงื่อออกมากๆ ก็จะทำให้ร่างกายขาดโซเดียมได้ เมื่อร่างกายขาดโซเดียมจะเกิดอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร กล้ามเนื้อไม่มีแรง เป็นตะคริว ความดันต่ำ หรือความเข้มข้นของโซเดียมในร่างกายเจือจางลงจากการได้รับน้ำมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำจากภายนอกเข้าสู่เซลล์มากเกินไป โดยเฉพาะที่เซลล์สมอง จะทำให้สมองบวมและเกิดอาการชักได้
SOFT-DRINK
แต่ถ้าร่างกายมีโซเดียมมากเกินไป และไตไม่สามารถขับออกได้ตามปกติ จะทำให้เกิดการบวม หรือที่เรียกว่า บวมน้ำ เกิดภาวะเลือดเป็นกรด เกิดอาการเส้นเลือดในสมองโป่งพอง มีภาวะเลือดออกในสมอง หรือเกิดความดันโลหิตสูงได้
ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังจึงควรมีการปรับโซเดียมให้เหมาะกับสภาพของไต เพราะถ้าไตบกพร่องจะไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกิดออกมาได้ ทำให้เกิดภาวะต่างๆ ดังที่กล่าวมา
ในผู้ป่วยบางคนที่ถูกกำหนดปริมาณการรับประทานโซเดียมอย่างเคร่งครัด อาจต้องตวงเกลอตามจำนวนที่ร่างกายจะสามารถรับได้ในแต่ละวัน แล้วใช้ตามที่กำหนด เพื่อจะใช้เกลือไม่มากเกินจำนวนนี้ แต่ถ้าใช้น้อยกว่านี้จะไม่เกิดผลเสียแต่อย่างใด แต่ทั้งนี้เราไม่สามารถเอาเกลือส่วนที่เหลือไปรวมกับปริมาณเกลือในวันถัดไปได้ เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับเกลือเกินกว่าที่ไตจะขับออกมาได้

โพแทสเซียม
โพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ที่สำคัญ และเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ หน้าที่ของโพแทสเซียมนอกจากเป็นส่วนประกอบของเซลล์แล้ว ยังช่วยควบคุมความดันออสโมติกภายในเซลล์ ช่วยรักษาความสมดุลของน้ำและความเป็นกรดด่างของร่างกาย ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยในการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์ โดยเฉพาะการสลายกลูโคสและการเผาผลาญพลังงาน
โพแทนเซียมจะถูกดูดซึมจำลำไส้เป็นส่วนใหญ่ และถูกขับออกทางปัสสาวะโดยไต ดังนั้นไตจึงมีความสำคัญในการรักษาสมดุลของโพแทสเซียม
การขาดโพแทสเซียมมักพบร่วมกับผู้ป่วยโรคตับแข็ง ในคนที่ท้องร่วง อาเจียนมากๆ ในคนที่ขาดอาหารนานๆ หรือเมื่อมีการใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาระบายบางชนิด อาการขาดโพแทสเซียม คือ กล้ามเนื้อไม่มีแรง คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ท้องอืด กระวนกระวาย ซึมเซา สับสน หัวใจเต้นเร็ว
ผลไม้
ถ้าโพแทสเซียมมากเกินไป มักมาจากการทำงานของไตบกพร่อง จะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าจนถึงหยุดเต้นและเสียชีวิต จึงควรควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือดไม่ให้สูงผิดปกติ (ไม่เกิน 5 mEq/L) ควรมีการวัดระดับโพแทสเซียมในเลือดทุก 3 เดือน
เนื่องจากโพแทสเซียมมีอยู่ในอาหารเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะในเนื้อสัตว์ โอกาสที่จะได้รับโพแทสเซียมจึงมีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะไตทำงานบกพร่องไม่สามารถขับโพแทสเซียมได้ตามปกติ จึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำเพื่อลดการทำงานของไต โดยเฉพาะผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่เป็นมาก
ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ทุเรียน ลำไย กล้วย หัวผลี ผักชี ต้นกระเทียม โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง มะเขือเปราะ ผักกวางตุ้ง เห็ดฟาง แครอท มะเขือพวง ผักบุ้งไทย
ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมปานกลาง เช่น สับปะรด ฝรั่ง เงาะ ส้ม มะม่วง องุ่น ลิ้นจี่ แอปเปิด ขนุน มะละกอ เห็ดนางฟ้า ฟักเขียว ผักกาดขาว มะเขือยาว มะละกอดิบ พริกหยวก ผักบุ้งจีน
ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมน้อย เช่น แตงโม บวบเหลี่ยม ถั่วพู หอมใหญ่ เห็ดหูหนู แตงกวา


น้ำ
waterในคนปกติไตจะสามารถควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกายได้ เช่น ถ้าได้รับน้ำมาก ไตก็จะขับน้ำส่วนเกินออกมาเป็นปัสสาวะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าได้รับน้ำน้อย ไตก็ขับน้ำออกมาเป็นปัสสาวะลดลง แต่ในคนที่เป็นโรคไตเรื้อรังไตไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ ไม่ว่าจะได้รับน้ำมากหรือน้อยก็ตาม ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากไป จะเกิดน้ำคั่งในตัวจนเกิดอาการเป็นพิษจากน้ำ ทำให้เกิดอาการซึม ชัก หมดสติได้ หรือถ้าได้รับน้ำน้อก็จะเกิดอาการทางสมองได้เช่นกัน คือ เกิดอาการซึมและชักได้
ผู้เป็นโรคไตเรื้อรังโดยทั่วไปจะได้รับน้ำจากการดื่มน้ำ จากอาหาร จากผลไม้ ขนม และทุกอย่างที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเราสามารถคำนวณหาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่ควรจะดื่มในแต่ละวัน โดยประมาณน้ำที่เหมาะสมที่ควรจะดื่มในแต่ละวัน โดยคำนวณจากปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน บวกกับ 500 มิลลิลิตร (500 นี้คำนวณมาจากการการสูญเสียน้ำทางเหลื่อและลมหายใจ) ฉะนั้นสมมุติถ้าปัสสาวะไปเมื่อวานเท่ากับ 800 มิลลิลิตร บวกกับ 500 มิลลิลิตร เท่ากับ 1,300 มิลลิลิตร ดังนั้นวันนี้เราควรได้รับประมาณน้ำจากทุกทางไม่เกิน 1,300 มิลิลลิตร

 

รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต และ http://www.brkidney.org/
บทความจากหนังสือ โรคไต อาหารชะลอการเสื่อมของไต สนพ.แสงแดด